วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำกริยา เรียนภาษาไทยให้สนุกกับคุณครูสมนึก ธนการ

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคำนามหรือคำสรรพนาม
เพื่อให้รู้ว่า คำนามหรือคำสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร
หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค

เรียกการกระทำว่า “คำกริยา”
สิ่งที่เห็นมาคือการกระทำ
ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งใจจดจำ
“ดู เห็น คอย ค้ำ” เป็นกริยา
คำกริยา แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
“อกรรมกริยา” กริยาสมบูรณ์
ไม่ต้องเกื้อกูลหรือชวนใครมา
ไม่ต้องรั้งท้ายไม่ต้องเยียวยา
เพราะตัวของข้าฯ กริยาสมบูรณ์
“นั่ง เดิน นอน วิ่ง หกล้ม ร้องไห้”
ฟังแล้วเข้าใจไม่ต้องเคืองขุ่น
ไม่ต้องไปคิดให้จิตว้าวุ่น
พ่อเจ้าพระคุณ สมบูรณ์ในตัว
๒) กริยาที่ต้องอาศัยกรรมมาทำให้สมบูรณ์ เรียกว่า "สกรรมกริยา"
เช่น ฉันกินข้าว แม่หิ้วถังน้ำ พ่อขายของ ฉันให้ดินสอน้อง
ฉันให้ดินสอน้อง ครูแจกดินสอนักเรียน ญาติโยมถวายอาหารพระภิกษุ
“สกรรมกริยา” ต้องหากรรมช่วย
เปรียบเหมือนคนป่วยรอหมอรักษา
ฟังไม่เข้าใจอะไรบอกมา
เช่น อย่างคำว่า “ซื้อ หา ทำ กิน”
ต้องเติมต่อท้าย “ซื้อ...อะไรมา”
ต้องเติมต่อว่า “รือหา...ขมิ้น”
“ทำ..ดี ทำ..ชั่ว ทำ...มั่วบ้าบิ่น”
เพียงแค่ได้ยินยังไม่เข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
พูดจริงทำจริง,ยึดมั่นในคำสอนของพ่อ(นายเต็ก ธนการ)ที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน",เชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม "คนทำดีต้องได้ดี..คนทำชั่วต้องได้รับผลกรรมแห่งการกระทำ",ไม่ชอบการโกหกและการลักขโมย