วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำนาม เรียนภาษาไทยให้สนุกกับคุณครูสมนึก ธนการ

คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน พืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่
เรียนเรื่องคำนามรู้คำเรียกชื่อ
จะได้ฝึกปรือคำภาษาไทย
คนสัตว์สิ่งของท้องที่ใกล้ไกล
อีกพืชพันธ์ไม้ที่เขาเรียกกัน
คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
๑) คำนามทั่วไป หรือ คำสามานยนาม เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คุณครู นักเรียน ตำรวจ นักฟุตบอล
“สามานยนาม” คำนามทั่วไป
หมูหมากาไก่ผู้ใหญ่กำนัน
ถนนแม่น้ำต้นไม้หลากพันธุ์
มิได้ยืนยันเฉพาะลงไป”
คุณครู นักเรียน ปากกา หนังสือ”
มิได้บอกชื่อว่าเป็นคนไหน
ฉันยังไม่รู้หมาพันธุ์อะไร
นักเรียนคนใหม่ชื่ออะไรกัน
คุณครูคนใหม่ชื่ออะไรกัน
๒) คำนามชี้เฉพาะ หรือ คำวิสามานยนาม เป็นคำที่ใช้ชี้เฉพาะ คน พืช สัตว์ สิ่งของและสถานที่ ถ้าเป็นคนก็ชี้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เช่น คุณครูสมนึก เด็กหญิงจันทร์จิรา ดวงอาทิตย์ จังหวัดพังงา
นามชี้เฉพาะเจาะจงที่ชื่อ

เพื่อใช้เป็นสื่อยามส่งของขวัญ
“คุณครูสมนึก” บอกชื่อยืนยัน
“วัวพันธุ์บรามัน” “ต้นจามจุรี”
“วิสามานยนาม” คำเรียกชื่อ
บางคนเขาถือเป็นเรื่องศักดิ์ศรี
ไม่รู้จักนามถามไม่ใยดี
บอก password ซีถ้ารู้จักกัน
บอกชื่อมาซี แล้วจะมีรางวัล
ให้หอมแก้มทีแล้วจะมีรางวัล
๓) คำนามบอกลักษณะ หรือ คำลักษณนาม เป็นคำนามบอกลักษณะของ คน พืช สัตว์ สิ่งของและสถานที่ เช่น ผล ตัว อัน แท่ง ใบ
“ลักษณะนาม” บอกลักษณะ
เป็น “ผล” เป็น“กะ” เป็น “ตัว” เป็น “อัน
เป็น “สาย” เป็น“เส้น” เป็น “คน” เป็น “ขั้น
เช่น กระเป๋าฉัน “ใบ” นั้นจ๊าบดี
ยางลบ “แท่ง” นี้ซื้อจากตลาด
ไก่นี้เก่งคาด “ตัว” มันสูสี
ถ้าอยู่ไม่สุขไม้เรียว “อัน” นี้
เคยถูกแม่ตี เจ็บจั้ง เจ็บจัง
เคยถูกครูตี เจ็บจั้ง เจ็บจัง
พอถูกแฟนตี สบายอุรา
๔) คำนามบอกหมวดหมู่ หรือ คำสมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ ของ คน พืช สัตว์ สิ่งของและสถานที่ เช่น โขลง ฝูง หมู่ เหล่า
“สมุหนาม” นามบอกหมวดหมู่
เป็น “กอง”เป็น “คู่” เป็น “หมู่”เป็น “ลัง”
เป็น “ตับ” เป็น “ช่อ” เป็น “ฝัก”ก็ยัง
หมูเกิดมากจัง “ครอก” ตั้งสิบตัว
เห็นปลา “ฝูง” ใหญ่ในบึงหลังบ้าน
เข้า “แถว” สำราญสนุกยิ้มหัว
ลิเก “วง” ใหญ่ “หมู่บ้าน” โรงวัว
ถ้าหากไม่กลัวยก “พวก” เข้ามา
ถ้านายไม่กลัว เราไปละวา เฮฮา
๕) คำนามบอกอาการ หรือ คำอาการนาม เป็นคำที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า เช่น การวิ่ง ความดี ความจริง
“นามบอกอาการ” หรืออาการนาม
มีคำว่า “ความ” หรือ “การ” นำหน้า
หน้าคำวิเศษณ์หรือคำกริยา
นอกนั้นแล้วอย่าขอจงระวัง
การกิน การเดิน การเล่น การดู
“ความรัก ความรู้ ความเกลียด ความชัง”
“การบ้าน การเรือน” ผิดแล้วอย่าพลั่ง
เพราะว่าคำหลัง คำนามแล้วนาย
เพราะว่าคนหลังอาบังแล้วนาย

ขอให้ทุกคนมีความสุข และสนุกกับการเรียนนะครับ ส่วนกิจกรรม มีทั้งการทำแผนภูมิ Spider Map การให้หาคำประเภทเดียวกัน การใช้กลุ่มคำที่เกี่ยวข้องมาแต่งเป็นประโยค

ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
พูดจริงทำจริง,ยึดมั่นในคำสอนของพ่อ(นายเต็ก ธนการ)ที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน",เชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม "คนทำดีต้องได้ดี..คนทำชั่วต้องได้รับผลกรรมแห่งการกระทำ",ไม่ชอบการโกหกและการลักขโมย