วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

๑. ประวัติโรงเรียนวัดนิโครธาราม

ประวัติความเป็นมา
ของ
โรงเรียนวัดนิโครธารามเดิมชื่อโรงเรียนวัดไทรเลียบมีประวัติความเป็นมาตามบทความการสืบค้นของ
คุณครูสมนึก ธนการ
ปรากฏดังนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕

หลวงปู่พรมได้เดินธุดงค์ มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช
ได้ปักกรด เพื่อพักเหนื่อย ใกล้ต้นไทรเลียบ
นายทิม อารีการ กำนัน ตำบลทับปุด เกิดศรัทธา จึงได้นิมนต์ หลวงปู่พรม ให้จำพรรษาอยู่ที่ทับปุด
ได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันสร้างกุฏิใกล้ ต้นไทรเลียบ
ซึ่งมีขนาดใหญ่ประมาณ ๕ คนโอบ โอบหุ้มต้นตาลอยู่
ชาวบ้านจึงเรียกขานชื่อวัดว่า
วัดไทรเลียบ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
ขุนชำนาญชนุวัตร์(เน้า) นายอำเภอทับปุดได้พาครอบครัวไปทำบุญ  ที่วัดไทรเลียบ
เกิดความคิดที่จะสร้างโรงเรียน ให้เด็กๆ ได้ศึกษา เล่าเรียน
ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ที่ต้องการให้ราษฎรได้ศึกษาเล่าเรียน
จึงได้ปรึกษา
หลวงปู่พรม
ซึ่ง หลวงปู่พรม ก็เห็นดีเห็นงามด้วยและอนุญาตให้ใช้ศาลาโรงธรรม เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน
ขุนชำนาญชนุวัตร์(เน้า) นายอำเภอทับปุด ได้มอบหมายให้
left
นายติ้น บุญลิปตานนท์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทินนามว่า
ขุนบุญลิปตานนท์ศึกษากรรั้งตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอทับปุด คนแรก
ขุนบุญลิปตานนท์ศึกษากร
ได้ชักชวนชาวบ้านที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน ให้เข้ามาเรียนหนังสือ ได้ชักชวนผู้ที่มีความรู้ เข้ามาเป็นครู
นักเรียนที่สมัครใจเรียนเป็นคนแรกชื่อว่าสามเณรนวม เพ็ชรพงษ์บุตรของ นายไทย เพ็ชรพงษ์ เกิดวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ และ
คุณครู คนแรกคือ

คุณครูช้วน บุณยะรักษ์เนื่องจากโรงเรียนได้เปิดสอนในวัดไทรเลียบ ชาวบ้านจึงเรียกขานว่า
โรงเรียนวัดไทรเลียบ
โรงเรียนวัดไทรเลียบ ได้เปิดสอนในระดับ ชั้นมูล วิชาที่สอน คือ
เลข ภาษาไทย สูตรคูณ การผันสระ การผันตัวสะกด การขับเสภา
โรงเรียนวัดไทรเลียบ ได้เปิดเรียนวันแรก เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
(ตามหลักฐานในทะเบียนนักเรียน โรงเรียนวัดไทรเลียบ)ต่อมาเมื่อมีจำนวนนักเรียนมากขึ้น ศาลาโรงธรรมดูจะคับแคบไป
ขุนบุญลิปตานนท์ศึกษากร ได้ประสานงานกับ นายทิม อารีการ กำนัน ตำบลทับปุด
ชักชวนชาวบ้าน มาช่วยกันสร้างโรงเรือน เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน
มีขนาด ๓๐ x ๒๐ เมตร หลังคามุงจากสาคู แบบเพิงหมาแหน กั้นด้วยฝาไม้ไผ่ขัด มีประตู หน้าต่าง
โต๊ะและม้านั่ง ใช้ไม้ปักลงในดิน ตีทับด้วย ไม้กระดาน แผ่นหนาๆ โต๊ะตัวหนึ่ง นั่งได้ประมาณ ๕ คน
มีคำประพันธ์บทหนึ่งกล่าวว่า
โต๊ะเก้าอี้ใช้ไม้กระดานหนา เป็นไรหวาห้าคนทำเป็นหึง
อย่าทำหน้าทำตาเป็นบึ้งตึง มือไม้ถึงเดี๋ยวหากูไม่เตือน

พ.ศ. ๒๔๖๕
ขุนบูญลิปตานนท์ศึกษากร ได้แจ้งให้ เด็กผู้หญิง เข้ามาเรียนหนังสือได้เหมือน เด็กผู้ชาย
เนื่องจากมีพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๔
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕
กำหนดให้ เด็กผู้หญิง มีสิทธิเรียนหนังสือ ได้เหมือน เด็กผู้ชาย
นักเรียนผู้หญิงคนแรกคือเด็กหญิงเตี่ยน ยี่สุ่นบุตรของ นายซุ้น ยี่สุ่น เกิดวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้เข้าเรียนเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
ขณะมีอายุได้ ๑๓ ปี
นายช้วน บุณยะรักษ์ ครูใหญ่โรงเรียนวัดไทรเลียบ ได้ลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๑
เนื่องจากมีอายุมากแล้ว และสุขภาพ ไม่แข็งแรง
ทางราชการได้แต่งตั้ง

คุณครูวิเชียร ณ ตะกั่วทุ่งมาเป็นครูใหญ่ โรงเรียนวัดไทรเลียบ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
พ.ศ. ๒๔๗๖
พระครูภาณีสีลวัติ เจ้าอาวาส วัดไทรเลียบพิจารณาเห็นว่าชื่อ วัดไทรเลียบ พ้องกับชื่อวัดในสมัยพุทธกาล
และคำว่า วัดไทรเลียบ ไม่ไพเราะ
จึงได้ปรึกษาพุทธบริษัท และมีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น
วัดนิโครธาราม
มีคำประพันธ์บทหนึ่งกล่าวว่า
"นิโครธคือต้นไทรตามบาลี      อารามมีต่อท้ายคล้ายคำเสริม
 นิโครธบวกอารามคงความเดิน      สมาสเติมวัดนิโครธาราม"
             
คุณครูวิเชียร ณ ตะกั่วทุ่ง
ได้ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามชื่อวัด เป็น
โรงเรียนวัดนิโครธาราม
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖
วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับแจ้งการพระราชทาน กำหนดเขต วิสุงคามสีมา วัดนิโครธาราม
พ.ศ. ๒๔๙๖
ทางราชการ ได้ย้าย ที่ว่าการอำเภอทับปุด และ สถานีตำรวจภูธรอำเภอทับปุด
ไปยังสถานที่สร้างใหม่ที่สร้างเสร็จแล้ว (สถานที่ ในปัจจุบัน)
คุณครูวิเชียร ณ ตะกั่วทุ่ง
ได้ขอใช้ที่ราชพัสดุ ของ ที่ว่าการอำเภอทับปุด และ สถานีตำรวจภูธรอำเภอทับปุด
แปลงหมายเลข พง. ๖๐ - ๒๔๖๕
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลทับปุด อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน เนื่องจาก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา
ได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
ค่าก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป. ๑ ก. ขนาด ๓ ห้องเรียน
กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๗ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงสังกะสีลอนคู่ ผนังกั้นด้วยไม้กระดาน
ไม่มีผนังกั้นห้อง
อาคารเรียนหลังใหม่ ได้เปิดเรียนวันแรก
เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ได้อนุมัติงบประมาณ ให้ต่อเติมอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก ๑ ห้อง
เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๐๐
ฯพณฯ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
(พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมาตรีคนแรก ของประเทศสยาม)
ได้เดินทางมาตรวจราชการทางภาคใต้
พร้อมด้วย  ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยา
 

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม  ได้มอบเงินให้ โรงเรียนวัดนิโครธาราม ๕,๐๐๐ บาท
เพื่อให้ โรงเรียนวัดนิโครธาราม ซื้อปูนซิเมนต์ มาลงพื้น อาคารเรียน
เจ้าหน้าที่ คุณครูและราษฎร
ได้ร่วมกันบริจาคเป็นค่าวัสดุและแรงงาน ๔,๐๐๐ บาท
เพื่อสร้างเพดานไม้กระดาน
โรงเรียนวัดนิโครธาราม
คุณครูสิทธิชัย  ทองคงผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน

บรรยากาศยามค่ำคืนของตลาดทับปุด เมื่อเดือนตุลาคม  ๒๕๔๙
เด็กนิโคร
ขอกราบขอบพระคุณ
ผู้ให้ข้อมูลในการสืบค้น

พระอาจารย์มณู สุนาถธฺมโม อดีตเจ้าอาวาส วัดไทรเลียบ รูปที่ ๔ขณะให้สัมภาษณ์ พระคุณเจ้ามีอายุ ๙๐ ปีคุณตา เยิ้ม ทองสัมฤทธิ์ อดีตสารวัตรศึกษาอำเภอทับปุด
ขณะให้สัมภาษณ์ คุณตา มีอายุ ๘๗ ปี
คุณยาย สิวเลี่ยน ณ ตะกั่วทุ่ง ภรรยาของ คุณครูวิเชียร ณ ตะกั่วทุ่ขณะให้สัมภาษณ์ คุณยายมีอายุ ๙๓ ปี และคุณยายฮ่อ บุณยะรักษ์ขณะให้สัมภาษณ์ คุณยายมีอายุ ๙๓ ปี
เล่าประวัติโรงเรียนวัดนิโครธาราม
โดยเด็กหญิงพิยดา ทองกวม (น้องพั้น)


เด็กนิโครwnikro@gmail.com,wmikro@hotmail.com

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
พูดจริงทำจริง,ยึดมั่นในคำสอนของพ่อ(นายเต็ก ธนการ)ที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน",เชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม "คนทำดีต้องได้ดี..คนทำชั่วต้องได้รับผลกรรมแห่งการกระทำ",ไม่ชอบการโกหกและการลักขโมย