วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

จามจุรี สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวัดนิโครธาราม


ต้นจามจุรี สัญลักษณ์ของโรงเรียนวัดนิโครธาราม มีความเป็นมาอย่างไร


คุณครูสมนึก ธนการ
ได้บันทึกไว้ใน บทความการสืบค้น ประวัติโรงเรียนวัดนิโครธาราม
กล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓

ประวัติต้นจามจุรี
เมื่อสองพันสี่ร้อยหกสิบสาม ท่านหลวงนาม “เรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์”
เซ้ง หัชชะวณิชได้ฝันวาด เหมือนประกาศชื่อไว้ให้นานนาน
จามจุรีไม้ใหญ่ให้ร่มเงา ถ้าหากเราปลูกไว้ให้ลูกหลาน
ยามร้อนผ่านหยุดพักจักชื่นบาน สุขสำราญสบายคลายคำนึง
ตัดสินใจพร้าฟันกิ่งเท่าก้อย ที่มันย้อยลงมาพอเอื้อมถึง
ให้นายเขิมหยดย้อยมาช่วยดึง พอกิ่งตึงฟันฉับขาดดังใจ
หลวงเรืองฤทธิ์ฯริดกิ่งมิให้มี กะพอดีจะปลูกในที่ใหม่
ากนาหลวงให้นายเขิมฯถือไป ปลูกใกล้ใกล้ตลาดหน้าอำเภอ
นายเขิมฯ ขุดถากหญ้าทั้งสี่ทิศ หลวงเรืองฤทธิ์ฯปักกิ่งดินเผยอ
ใช้ไม้ทู้ปักไว้รอบกายเธอ ผูกกะเฌอถักไว้ด้วยหวายเดา
คอยรดน้ำพรวนดินไม่นานนัก กิ่งที่หักเริ่มแตกไม่อับเฉา
นับคืนวันผันผ่านเนิ่นนานเนา เหมือนเรื่องเล่าโตแล้วจามจุรี
ที่นาหลวงเดิมเป็นอำเภอเก่า เหมือนเรื่องเล่าเขาย้ายกันหลายที่
ไม่อยากเดาด้วยเหตุอะไรดี ต่างคนมีบอกกล่าวเล่าอ้างอิง


ขอกราบขอบพระคุณ
พระอาจารย์มณู สุนาถธฺมโม อดีตเจ้าอาวาส วัดไทรเลียบ รูปที่ ๔
ขณะให้สัมภาษณ์ พระคุณเจ้า มีอายุ ๙๐ ปี
คุณตา เยิ้ม ทองสัมฤทธิ์ อดีตสารวัตรศึกษาอำเภอทับปุด
ขณะให้สัมภาษณ์ คุณตา มีอายุ ๘๗ ปี
คุณยาย สิวเลี่ยน ณ ตะกั่วทุ่ง ภรรยาของ คุณครูวิเชียร ณ ตะกั่วทุ่ง
ขณะให้สัมภาษณ์ คุณยาย มีอายุ ๙๓ ปี
คุณยายฮ่อ บุณยะรักษ์ นักเรียนหญิงคนที่ ๒ ของโรงเรียนวัดนิโครธาราม
ขณะให้สัมภาษณ์ คุณยายมีอายุ ๙๓ ปี
ขอขอบพระคุณ คุณวิจารณ์ หัชชะวณิชย์ กำนันแดง ๐๗๖๔๙๔๐๔๕
ที่เอื้อเฟื้อภาพถ่ายของ หลวงเรื่องฤทธิ์รักษาราษฎร์ (เซ่งหัชชะวณิชย์)
ไว้ด้วยความเคารพอย่างสูง
....................
เด็กนิโคร
wnikro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
พูดจริงทำจริง,ยึดมั่นในคำสอนของพ่อ(นายเต็ก ธนการ)ที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน",เชื่อมั่นในกฏแห่งกรรม "คนทำดีต้องได้ดี..คนทำชั่วต้องได้รับผลกรรมแห่งการกระทำ",ไม่ชอบการโกหกและการลักขโมย