เด็กชายสัญญา ยกเถ (แบงค์)
งานนี้ต้องยกให้เค้า ข่าวว่า เกิดชาติหนึ่งปางใด ถ้าเป็นไปได้ ขอสมัครเป็นลูกเขยครูตุ้มนะ
งานนี้ต้องยกให้เค้า ข่าวว่า เกิดชาติหนึ่งปางใด ถ้าเป็นไปได้ ขอสมัครเป็นลูกเขยครูตุ้มนะ
เด็กหญิงอาทิตยา ทองนิ่ม (กุ๊ก)
อธิฐานว่า ขอให้อวบเหมือนครูต้ม เอ้า เอาเข้าไป
อธิฐานว่า ขอให้อวบเหมือนครูต้ม เอ้า เอาเข้าไป
การแสดงละครล้อเลียนสังคม
พระอธิการญาณวิทย์ ญาณสํวโร
สารเสพติด
หากแบ่งตาม "การออกฤทธิ์" ก็มีสามพวกคือ
(๑) พวกออกฤทธิ์กดประสาท เช่นฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย พวกนี้จะทำให้มีอาการสลึมสลือ เคลิ้ม หลับ ถ้าเสพมากก็อาจถึงโคม่าหรือตาย ถ้าไม่ได้เสพก็จะกระวนกระวายลงแดงรุนแรง
(๒) พวกออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่น ยาบ้า ยาอี (MDMA) เอ็คตาซี โคเคน กระท่อม พวกนี้จะกระตุ้นให้ไม่หลับไม่นอน ให้ตื่นตัว ทำอะไรได้มากกว่าธรรมดา เมื่อเสพมากทำให้สมองเสื่อม เป็นโรคจิต เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็เกิดภาวะซึมเศร้า ระแวง ฆ่าตัวตาย
(๓) พวกออกฤทธิ์หลอนประสาท เช่น LSD (Lysergic acid diethylamide) , DMT dimethyltryptamine), ยาเค (ketamine) เห็ดขี้ควาย พวกนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะมีอาการประสาทหลอนเป็นภาพเป็นเสียง เมื่อเสพมากก็ทำให้สมองเสื่อมและเป็นโรคจิตได้หลายแบบ รวมทั้งโรคจิตชนิดซึมเศร้าและมีการฆ่าตัวตายสูงด้วย
หากแบ่งตามกฎหมาย (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒) ก็แบ่งเป็น ๕ ประเภท
ประเภทที่ ๑ มีความสำคัญที่สุด ได้แก่เฮโรอีน , LSD, ยาบ้า (แอมเฟตามีน) ยาไอซ์ ยาอี ยาเค โคเคน ซึ่งล้วนเป็นยากลุ่มที่วัยรุ่นนิยมใช้มากที่สุด ส่วนประเภทอื่นๆก็แรงลดหลั่นลงไปและไม่ค่อยสำคัญต่อปัญหาวัยรุ่นมากนัก ได้แก่
ประเภทที่ ๒. ฝิ่น มอร์ฟีน โคเดอีน
ประเภทที่ ๓. ยาตำรับรักษาโรคที่อาจใช้ผิดวัตถุประสงค์ได้
ประเภทที่ ๔. สารเคมีที่ใช้ผลิตยาเสพติด
ประเภทที่ ๕. กัญชา กระท่อม
ประเด็นที่สอง เหตุที่ทำให้เด็กติดยา พอจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มสาเหตุ คือ
(๑) สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม (เพื่อนบ้าน ชุมชน โรงเรียน สังคม) ซึ่งผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดในที่นี้
(๒) สาเหตุจากครอบครัว
ข้อมูลที่ดีที่สุดในการมองปัญหาครอบครัวต่อการติดยาเสพติดคือผลการทบทวนงานวิจัย ของปปส. ซึ่งได้ทบทวนงานวิจัยช่วงปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๗ รวม ๑๔๑ ฉบับ
ได้ผลสรุปออกมาว่าลักษณะของครอบครัวที่ทำให้เด็กติดยาเสพติดมี ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. ครอบครัวมีความขัดแย้งกัน ทะเลาะเบาะแว้ง
๒. ครอบครัวขาดกิจกรรมร่วมกัน
๓. พ่อแม่คาดหวังสูงและผลักดันแรง เกินความเป็นตัวของตัวเองของเด็ก
๔. การบริหารเวลาของครอบครัวมุ่งเน้นการหาเงินมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ ครอบครัวที่ยากจนทิ้งเด็กไว้กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ครอบครัวที่มีเงินใช้เงินแทนการสร้างความสัมพันธ์ ทำให้มีเงินเหลือไปซื้อยา
๕. มีการใช้ยาเสพติดในครอบครัว
๖. ไม่มีการสอนเรื่องข้อเสียของยาเสพในครอบครัว
๗. แบบแผนการเลี้ยงดูมีเอกลักษณ์สองอย่างคือ
(๑) ไม่ได้สอนให้เด็กพึ่งตนเองได้อย่างเป็นขั้นตอน ทำให้เด็ก over protected และขาดวุฒิภาวะ
(๒) ไม่สนับสนุนการแสดงความรักต่อกันทั้งภาษาพูดและภาษากาย
๘. ครอบครัวใช้วิธีอำนาจนิยม ใช้ความรุนแรง
๙. ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง๑
๑๐. มีความห่างเหินระหว่างกันของคนในครอบครัว ลูกขาดความผูกพัน ขาดที่ปรึกษา และหันไปผูกพันกับคนนอกครอบครัว
(๓) สาเหตุจากตัวเด็กเองงานวิจัยแบบโฟคัสกรุ๊พที่สัมภาษณ์ตัวเด็ก พอสรุปสาเหตุด้านตัวเด็กได้ดังนี้
๑. ความอยากลอง
๒. การตามเพื่อน และแรงกดดันจากเพื่อนๆ
๓. ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ใครๆ เขาก็ทำกัน ไม่เห็นจะแปลกอะไร
๔. สถานการณ์พาไป โดยเฉพะงานปาร์ตี้ที่มีการแอบใส่ยา
๕ เป็นการแสดงออกถึงการต่อต้านผู้ใหญ่
๖. ใช้เป็นทางออกของปัญหาทางอารมณ์ การไม่มีความสุข การไม่ได้รับการยอมรับ
ประเด็นที่สาม ลางบอกเหตุว่าลูกติดยา มีดังนี้
๑. ผลการเรียนตกต่ำผิดสังเกต
๒. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เที่ยวกลางคืนมากขึ้น ก้าวร้าว ชอบฝ่าฝืนกฎระเบียบเมื่ออยากจะใช้ยา
๓. มีสุขภาพจิตเลวลง ขี้กังวล หงุดหงิดง่าย กระวนกระวายเมื่อมีความต้องการใช้ยา
๔. มีสุขภาพกายเลวลง ร่างกายทรุดโทรม ง่วงเหงาหาวนอนในชั้นเรียน
๕. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ปล่อยตัว ไม่สนใจภาพลักษณ์ของตัวเอง
๖. มีความต้องการเงินมาก ขโมยของไปขาย
ประเด็นที่สี่ จะรับมือกับปัญหาลูกติดยาอย่างไรดี
ขั้นที่ ๑
๑. ปรับครอบครัวก่อน คือคุณพ่อคุณแม่ต้องร่วมกันตั้งเป้าหมายว่าจะร่วมกันสร้างครอบครัวที่รักใคร่ปรองดองกันด้วยดีขึ้นมา โดย
๑.๑ สร้างวัฒนธรรมการแสดงออกถึงความรักและหวังดีต่อกันอย่างเปิดเผยทั้งด้วยวาจา เช่นพูดออกมาบ่อยๆว่า “พ่อรักแม่นะครับ” “แม่รักลูกค่ะ” และมีวัฒนธรรมการใช้ภาษากายกันเป็นประจำ เช่นการสัมผัสบีบมือ โอบกอด ตบหลังตบไหล่ ไม่มีการใช้อำนาจต่อกันในครอบครัว
๑.๒ กำหนดกิจกรรมร่วมกันขึ้นมา อย่างน้อยสักหนึ่งอย่างในหนึ่งสัปดาห์ที่พ่อแม่ลูกทุกคนต้องมาร่วมกันทำกิจกรรมนี้ด้วยกัน โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องจัดเวลาของตัวเองมาทำสิ่งนี้ให้ได้
ขั้นที่ ๒. สอนพื้นฐานการใช้ชีวิตที่พ่อแม่ทั่วไปพึงสอนให้ลูก อันได้แก่
๒.๑ สอนพื้นฐานการรู้จักใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างเรียบง่าย อันได้แก่
(๑) สอนให้ฝึกสมาธิ (meditation) เพื่อให้จิตใจสงบสุขด้วยวิธีเช่นการตามรู้ลมหายใจ
(๒) สอนให้ฝึกตามดูหรือฝึกระลึกรู้ (recall) ความคิดของตัวเองว่าเมื่อตะกี้ตัวเองเผลอคิดอะไร
(๓) สอนให้หัดรู้สภาวะจิตใจของตัวเองอยู่เสมอ (self awareness) ทั้งสามประการนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ ในกรณีที่พ่อแม่ไม่ถนัดที่จะสอนเรื่องเหล่านี้ อาจใช้วิธีพาลูกไปรับฟังคำสอนของผู้รู้ทางด้านนี้ เช่นพระสงฆ์องค์เจ้าที่เป็นที่เคารพนับถือ เป็นต้น
๒.๒ ฝึกสอนให้เด็กพึ่งตนเองได้ ทำอะไรเองได้ ให้หัดมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เป็นขั้นเป็นตอน อย่าให้ลูกเป็นคน over protected ทำอะไรเองก็ไม่เป็น ตัดสินใจเรื่องอะไรเองก็ไม่ได้ กระบวนการนี้จะเป็นการสร้างความนับถือกันและกัน (trust) ขึ้นระหว่างลูกกับพ่อแม่ด้วย
๒.๓ ฝึกสอนลูกให้รู้จักบริหารการเงิน วางแผนใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผล
๒.๔ พร่ำสอนลูกถึงพิษภัยของยาเสพติดว่าเมื่อติดแล้วมักถอนตัวยาก และมีผลต่อชีวิตทั้งชีวิต รวมทั้งสอนถึงวิธีพาตัวเองหลบหนีจากยาเสพติด โดยถือเป็นวาระหลักอย่างหนึ่งในการสอนลูก
๒.๕ สนับสนุนให้ลูกเกิดความนับถือตัวเอง ให้รู้สึกว่าได้รับการยอมรับ และรู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีค่า ภายใต้ขอบเขตความสามารถและความถนัดที่ลูกมี ซึ่งอาจรวมไปถึงการสนับสนุนให้เล่นกีฬา ดนตรี ทำกิจกรรม หรือเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น
ขั้นที่ ๓. เข้าไปประเมินสถานการณ์และหาจังหวะช่วยเหลือ ได้แก่
๓.๑ หาข้อมูล ด้วยวิธีที่แนบเนียน ไม่เข้าไปวุ่นวายเช่นค้นกระเป๋า ค้นห้องนอน แต่ควรใช้วิธีพูดคุยกัน ในทำนองของการไถ่ถามถึงเรื่องราวทั่วๆ ไป เปิดโอกาสให้เขาเอ่ยปากปรึกษาหารือ ฟังเขาอย่างตั้งใจ ฟังเพื่อที่จะเข้าใจว่าเขาคิดอะไร เขาอยากได้อะไร เปิดใจรับฟังได้ทุกอย่างโดยไม่โวยวาย เน้นการสร้างความไว้วางใจขึ้นมาก่อน
๓.๒ หยั่งเชิงถามความพร้อมของลูกในการเผชิญปัญหายาเสพติด เช่นถามว่าถ้าบังเอิญเข้าไปเจอปัญหาเรื่องยาเสพติดจะป้องกันตัวเองอย่างไร ถ้าบังเอิญเพื่อนเขาชวนให้เสพ จะพูดอย่างไร ถ้าบังเอิญไปงานเลี้ยงที่เขาเสพยากันจะทำอย่างไร ถ้าเขามีไอเดียที่จะป้องกันตัวเองดีอยู่แล้วก็สนับสนุน ถ้าเขายังมองไม่เห็นปัญหาในบางแง่ก็ให้ข้อมูลเสริม ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้เขาเผชิญปัญหาจริงได้
๓.๓ เชื่อมโยงกับเครือข่ายรอบชีวิตของลูกเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล เข้าถึงกลุ่มเพื่อนของลูก ยอมรับเพื่อนของลูก ทำให้ติดตามได้ว่า เขาไปทำอะไรกันที่ไหนบ้าง เปิดใจรับฟังเมื่อเพื่อนของลูกพูด ยอมให้เพื่อนของลูกเข้ามาในบ้าน เข้ามาพูดคุยกัน ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันที่บ้าน ขณะเดียวกันก็รักษาสายสัมพันธ์และสอบถามข่าวคราวกับอาจารย์ที่ปรึกษาของลูกที่โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
๓.๔ ใช้ความนับถือกันและกันระหว่างพ่อแม่กับลูกสร้างปฏิญญาร่วมกันขึ้นมา ด้วยวิธีพูดคุยตกลงกันอย่างเปิดเผย ว่าครอบครัวของเราจะไม่ยอมให้มียาเสพติดเข้ามา หากมีเข้ามา ทุกคนต้องเปิดเผยข้อมูลต่อกัน หารือกัน และช่วยกันแก้ไขเพื่อขจัดยาเสพติดออกไป แสดงความตั้งใจแน่วแน่ให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่ถือยาเสพติดเป็นศัตรูร้ายที่จะมาทำลายลูก หากมียาเสพติดแทรกเข้ามาจริง พ่อกับแม่จะทำทุกอย่างเพื่อขจัดยาเสพติดออกไป
๓.๕ เฝ้าระวังโดยการสังเกตผลการเรียน พฤติกรรม สุขภาพจิต สุขภาพกาย บุคลิกภาพ การใช้จ่ายเงิน เมื่อใดที่เห็นชัดว่ามีปัญหายาเสพติดเกิดขึ้น ให้รีบเข้าไปแก้ปัญหาโดยเร็วทันที โดยประสานงานกับเพื่อนๆของลูก ครูที่โรงเรียน ญาติพี่น้องที่ลูกสนิทด้วย ด้วยมาตรการตั้งน้อยไปหามาก ซึ่งอาจรวมถึงการใช้กิจกรรมบำบัด การควบคุมการใช้จ่ายเงิน การย้ายถิ่นที่อยู่ การย้ายโรงเรียน การตัดขาดจากเพื่อนที่ติดยา และการส่งลูกเข้าสถานบำบัดถ้าจำเป็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
หากแบ่งตาม "การออกฤทธิ์" ก็มีสามพวกคือ
(๑) พวกออกฤทธิ์กดประสาท เช่นฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย พวกนี้จะทำให้มีอาการสลึมสลือ เคลิ้ม หลับ ถ้าเสพมากก็อาจถึงโคม่าหรือตาย ถ้าไม่ได้เสพก็จะกระวนกระวายลงแดงรุนแรง
(๒) พวกออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่น ยาบ้า ยาอี (MDMA) เอ็คตาซี โคเคน กระท่อม พวกนี้จะกระตุ้นให้ไม่หลับไม่นอน ให้ตื่นตัว ทำอะไรได้มากกว่าธรรมดา เมื่อเสพมากทำให้สมองเสื่อม เป็นโรคจิต เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็เกิดภาวะซึมเศร้า ระแวง ฆ่าตัวตาย
(๓) พวกออกฤทธิ์หลอนประสาท เช่น LSD (Lysergic acid diethylamide) , DMT dimethyltryptamine), ยาเค (ketamine) เห็ดขี้ควาย พวกนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะมีอาการประสาทหลอนเป็นภาพเป็นเสียง เมื่อเสพมากก็ทำให้สมองเสื่อมและเป็นโรคจิตได้หลายแบบ รวมทั้งโรคจิตชนิดซึมเศร้าและมีการฆ่าตัวตายสูงด้วย
หากแบ่งตามกฎหมาย (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒) ก็แบ่งเป็น ๕ ประเภท
ประเภทที่ ๑ มีความสำคัญที่สุด ได้แก่เฮโรอีน , LSD, ยาบ้า (แอมเฟตามีน) ยาไอซ์ ยาอี ยาเค โคเคน ซึ่งล้วนเป็นยากลุ่มที่วัยรุ่นนิยมใช้มากที่สุด ส่วนประเภทอื่นๆก็แรงลดหลั่นลงไปและไม่ค่อยสำคัญต่อปัญหาวัยรุ่นมากนัก ได้แก่
ประเภทที่ ๒. ฝิ่น มอร์ฟีน โคเดอีน
ประเภทที่ ๓. ยาตำรับรักษาโรคที่อาจใช้ผิดวัตถุประสงค์ได้
ประเภทที่ ๔. สารเคมีที่ใช้ผลิตยาเสพติด
ประเภทที่ ๕. กัญชา กระท่อม
ประเด็นที่สอง เหตุที่ทำให้เด็กติดยา พอจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มสาเหตุ คือ
(๑) สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม (เพื่อนบ้าน ชุมชน โรงเรียน สังคม) ซึ่งผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดในที่นี้
(๒) สาเหตุจากครอบครัว
ข้อมูลที่ดีที่สุดในการมองปัญหาครอบครัวต่อการติดยาเสพติดคือผลการทบทวนงานวิจัย ของปปส. ซึ่งได้ทบทวนงานวิจัยช่วงปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๗ รวม ๑๔๑ ฉบับ
ได้ผลสรุปออกมาว่าลักษณะของครอบครัวที่ทำให้เด็กติดยาเสพติดมี ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. ครอบครัวมีความขัดแย้งกัน ทะเลาะเบาะแว้ง
๒. ครอบครัวขาดกิจกรรมร่วมกัน
๓. พ่อแม่คาดหวังสูงและผลักดันแรง เกินความเป็นตัวของตัวเองของเด็ก
๔. การบริหารเวลาของครอบครัวมุ่งเน้นการหาเงินมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ ครอบครัวที่ยากจนทิ้งเด็กไว้กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ครอบครัวที่มีเงินใช้เงินแทนการสร้างความสัมพันธ์ ทำให้มีเงินเหลือไปซื้อยา
๕. มีการใช้ยาเสพติดในครอบครัว
๖. ไม่มีการสอนเรื่องข้อเสียของยาเสพในครอบครัว
๗. แบบแผนการเลี้ยงดูมีเอกลักษณ์สองอย่างคือ
(๑) ไม่ได้สอนให้เด็กพึ่งตนเองได้อย่างเป็นขั้นตอน ทำให้เด็ก over protected และขาดวุฒิภาวะ
(๒) ไม่สนับสนุนการแสดงความรักต่อกันทั้งภาษาพูดและภาษากาย
๘. ครอบครัวใช้วิธีอำนาจนิยม ใช้ความรุนแรง
๙. ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง๑
๑๐. มีความห่างเหินระหว่างกันของคนในครอบครัว ลูกขาดความผูกพัน ขาดที่ปรึกษา และหันไปผูกพันกับคนนอกครอบครัว
(๓) สาเหตุจากตัวเด็กเองงานวิจัยแบบโฟคัสกรุ๊พที่สัมภาษณ์ตัวเด็ก พอสรุปสาเหตุด้านตัวเด็กได้ดังนี้
๑. ความอยากลอง
๒. การตามเพื่อน และแรงกดดันจากเพื่อนๆ
๓. ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ใครๆ เขาก็ทำกัน ไม่เห็นจะแปลกอะไร
๔. สถานการณ์พาไป โดยเฉพะงานปาร์ตี้ที่มีการแอบใส่ยา
๕ เป็นการแสดงออกถึงการต่อต้านผู้ใหญ่
๖. ใช้เป็นทางออกของปัญหาทางอารมณ์ การไม่มีความสุข การไม่ได้รับการยอมรับ
ประเด็นที่สาม ลางบอกเหตุว่าลูกติดยา มีดังนี้
๑. ผลการเรียนตกต่ำผิดสังเกต
๒. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เที่ยวกลางคืนมากขึ้น ก้าวร้าว ชอบฝ่าฝืนกฎระเบียบเมื่ออยากจะใช้ยา
๓. มีสุขภาพจิตเลวลง ขี้กังวล หงุดหงิดง่าย กระวนกระวายเมื่อมีความต้องการใช้ยา
๔. มีสุขภาพกายเลวลง ร่างกายทรุดโทรม ง่วงเหงาหาวนอนในชั้นเรียน
๕. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ปล่อยตัว ไม่สนใจภาพลักษณ์ของตัวเอง
๖. มีความต้องการเงินมาก ขโมยของไปขาย
ประเด็นที่สี่ จะรับมือกับปัญหาลูกติดยาอย่างไรดี
ขั้นที่ ๑
๑. ปรับครอบครัวก่อน คือคุณพ่อคุณแม่ต้องร่วมกันตั้งเป้าหมายว่าจะร่วมกันสร้างครอบครัวที่รักใคร่ปรองดองกันด้วยดีขึ้นมา โดย
๑.๑ สร้างวัฒนธรรมการแสดงออกถึงความรักและหวังดีต่อกันอย่างเปิดเผยทั้งด้วยวาจา เช่นพูดออกมาบ่อยๆว่า “พ่อรักแม่นะครับ” “แม่รักลูกค่ะ” และมีวัฒนธรรมการใช้ภาษากายกันเป็นประจำ เช่นการสัมผัสบีบมือ โอบกอด ตบหลังตบไหล่ ไม่มีการใช้อำนาจต่อกันในครอบครัว
๑.๒ กำหนดกิจกรรมร่วมกันขึ้นมา อย่างน้อยสักหนึ่งอย่างในหนึ่งสัปดาห์ที่พ่อแม่ลูกทุกคนต้องมาร่วมกันทำกิจกรรมนี้ด้วยกัน โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องจัดเวลาของตัวเองมาทำสิ่งนี้ให้ได้
ขั้นที่ ๒. สอนพื้นฐานการใช้ชีวิตที่พ่อแม่ทั่วไปพึงสอนให้ลูก อันได้แก่
๒.๑ สอนพื้นฐานการรู้จักใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างเรียบง่าย อันได้แก่
(๑) สอนให้ฝึกสมาธิ (meditation) เพื่อให้จิตใจสงบสุขด้วยวิธีเช่นการตามรู้ลมหายใจ
(๒) สอนให้ฝึกตามดูหรือฝึกระลึกรู้ (recall) ความคิดของตัวเองว่าเมื่อตะกี้ตัวเองเผลอคิดอะไร
(๓) สอนให้หัดรู้สภาวะจิตใจของตัวเองอยู่เสมอ (self awareness) ทั้งสามประการนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ ในกรณีที่พ่อแม่ไม่ถนัดที่จะสอนเรื่องเหล่านี้ อาจใช้วิธีพาลูกไปรับฟังคำสอนของผู้รู้ทางด้านนี้ เช่นพระสงฆ์องค์เจ้าที่เป็นที่เคารพนับถือ เป็นต้น
๒.๒ ฝึกสอนให้เด็กพึ่งตนเองได้ ทำอะไรเองได้ ให้หัดมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เป็นขั้นเป็นตอน อย่าให้ลูกเป็นคน over protected ทำอะไรเองก็ไม่เป็น ตัดสินใจเรื่องอะไรเองก็ไม่ได้ กระบวนการนี้จะเป็นการสร้างความนับถือกันและกัน (trust) ขึ้นระหว่างลูกกับพ่อแม่ด้วย
๒.๓ ฝึกสอนลูกให้รู้จักบริหารการเงิน วางแผนใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผล
๒.๔ พร่ำสอนลูกถึงพิษภัยของยาเสพติดว่าเมื่อติดแล้วมักถอนตัวยาก และมีผลต่อชีวิตทั้งชีวิต รวมทั้งสอนถึงวิธีพาตัวเองหลบหนีจากยาเสพติด โดยถือเป็นวาระหลักอย่างหนึ่งในการสอนลูก
๒.๕ สนับสนุนให้ลูกเกิดความนับถือตัวเอง ให้รู้สึกว่าได้รับการยอมรับ และรู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีค่า ภายใต้ขอบเขตความสามารถและความถนัดที่ลูกมี ซึ่งอาจรวมไปถึงการสนับสนุนให้เล่นกีฬา ดนตรี ทำกิจกรรม หรือเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น
ขั้นที่ ๓. เข้าไปประเมินสถานการณ์และหาจังหวะช่วยเหลือ ได้แก่
๓.๑ หาข้อมูล ด้วยวิธีที่แนบเนียน ไม่เข้าไปวุ่นวายเช่นค้นกระเป๋า ค้นห้องนอน แต่ควรใช้วิธีพูดคุยกัน ในทำนองของการไถ่ถามถึงเรื่องราวทั่วๆ ไป เปิดโอกาสให้เขาเอ่ยปากปรึกษาหารือ ฟังเขาอย่างตั้งใจ ฟังเพื่อที่จะเข้าใจว่าเขาคิดอะไร เขาอยากได้อะไร เปิดใจรับฟังได้ทุกอย่างโดยไม่โวยวาย เน้นการสร้างความไว้วางใจขึ้นมาก่อน
๓.๒ หยั่งเชิงถามความพร้อมของลูกในการเผชิญปัญหายาเสพติด เช่นถามว่าถ้าบังเอิญเข้าไปเจอปัญหาเรื่องยาเสพติดจะป้องกันตัวเองอย่างไร ถ้าบังเอิญเพื่อนเขาชวนให้เสพ จะพูดอย่างไร ถ้าบังเอิญไปงานเลี้ยงที่เขาเสพยากันจะทำอย่างไร ถ้าเขามีไอเดียที่จะป้องกันตัวเองดีอยู่แล้วก็สนับสนุน ถ้าเขายังมองไม่เห็นปัญหาในบางแง่ก็ให้ข้อมูลเสริม ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้เขาเผชิญปัญหาจริงได้
๓.๓ เชื่อมโยงกับเครือข่ายรอบชีวิตของลูกเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล เข้าถึงกลุ่มเพื่อนของลูก ยอมรับเพื่อนของลูก ทำให้ติดตามได้ว่า เขาไปทำอะไรกันที่ไหนบ้าง เปิดใจรับฟังเมื่อเพื่อนของลูกพูด ยอมให้เพื่อนของลูกเข้ามาในบ้าน เข้ามาพูดคุยกัน ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันที่บ้าน ขณะเดียวกันก็รักษาสายสัมพันธ์และสอบถามข่าวคราวกับอาจารย์ที่ปรึกษาของลูกที่โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
๓.๔ ใช้ความนับถือกันและกันระหว่างพ่อแม่กับลูกสร้างปฏิญญาร่วมกันขึ้นมา ด้วยวิธีพูดคุยตกลงกันอย่างเปิดเผย ว่าครอบครัวของเราจะไม่ยอมให้มียาเสพติดเข้ามา หากมีเข้ามา ทุกคนต้องเปิดเผยข้อมูลต่อกัน หารือกัน และช่วยกันแก้ไขเพื่อขจัดยาเสพติดออกไป แสดงความตั้งใจแน่วแน่ให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่ถือยาเสพติดเป็นศัตรูร้ายที่จะมาทำลายลูก หากมียาเสพติดแทรกเข้ามาจริง พ่อกับแม่จะทำทุกอย่างเพื่อขจัดยาเสพติดออกไป
๓.๕ เฝ้าระวังโดยการสังเกตผลการเรียน พฤติกรรม สุขภาพจิต สุขภาพกาย บุคลิกภาพ การใช้จ่ายเงิน เมื่อใดที่เห็นชัดว่ามีปัญหายาเสพติดเกิดขึ้น ให้รีบเข้าไปแก้ปัญหาโดยเร็วทันที โดยประสานงานกับเพื่อนๆของลูก ครูที่โรงเรียน ญาติพี่น้องที่ลูกสนิทด้วย ด้วยมาตรการตั้งน้อยไปหามาก ซึ่งอาจรวมถึงการใช้กิจกรรมบำบัด การควบคุมการใช้จ่ายเงิน การย้ายถิ่นที่อยู่ การย้ายโรงเรียน การตัดขาดจากเพื่อนที่ติดยา และการส่งลูกเข้าสถานบำบัดถ้าจำเป็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น